Solar Rooftop คุ้มค่าหรือไม่ ทำไมคนไทยจึงนิยมใช้กัน

Solar Rooftop

ในยุคที่ค่าไฟแพงจนรับไม่ไหว บางครัวเรือนจึงใช้ Solar Rooftop เข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายภายในบ้าน เป็นระบบที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้า Solar Rooftop คือ การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านหรืออาคารอื่นๆ ให้ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อใช้ในการกักเก็บและใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้าหรือความร้อน โดยที่แผงโซลาร์ที่ติดตั้งบนหลังคาจะรับแสงอาทิตย์และแปลงพลังงานเป็นไฟฟ้ากระแสตรง จากนั้นจะส่งไปยังอินเวอร์เตอร์เพื่อแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งสามารถนำไปใช้งานได้ในอาคารหรือระบบไฟฟ้าในพื้นที่นั้นๆ ถือว่าดีอย่างมากต่อการเงินและช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการใช้พลังงานทดแทน แต่ว่าแผง Solar Cell ก็มีราคาแพงพอสมควร ดังนั้นครัวเรือนจึงต้องทำการวิเคราะห์ก่อนใช้ว่าคุ้มค่าหรือไม่

ระบบโซล่าเซลล์ มีกี่แบบ

ก่อนที่จะทำการติดตั้ง Solar Rooftop จะต้องรู้ว่าระบบของโซล่าเซลล์มีกี่รูปแบบ ซึ่งเป็นความรู้เบื้องต้นในการติดตั้ง จะแบ่งออกเป็นหลักๆ ตามการเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า ทำให้ Solar Rooftop การไฟฟ้า แบ่งออกเป็นดังนี้

solar rooftop การไฟฟ้า

ระบบออนกริด (On-Grid) 

เป็นระบบที่เชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าโดยตรง หมายความว่าเมื่อแผงโซลาร์เซลล์ผลิตกระแสไฟฟ้าได้เกินกว่าที่เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านใช้ กระแสไฟฟ้าส่วนเกินจะถูกส่งกลับไปยังระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า และสามารถนำไปขายคืนได้ เหมาะกับบ้านหรืออาคารที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง มีการใช้งานในช่วงกลางวัน ไม่มีแบตเตอรี่และต้องการลดค่าไฟฟ้า ระบบ Solar Rooftop นี้เป็นระบบที่นิยมมากที่สุด เพราะสามารถคืนทุนได้เร็วที่สุด ระยะเวลาคืนทุนของระบบออนกริดจะอยู่ที่ประมาณ 7-10 ปี

ระบบออฟกริด (Off-Grid)

เป็นระบบโซล่าเซลล์ที่ทำงานแบบอิสระจากระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า หมายความว่าเมื่อแผงโซลาร์เซลล์ผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว จะเก็บกระแสไฟฟ้าส่วนเกินไว้ในแบตเตอรี่ เพื่อใช้ในช่วงเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์ หรือเมื่อใช้ไฟฟ้าเกินกว่าที่แผงโซลาร์เซลล์ผลิตได้ เป็น House design ที่เหมาะกับบ้านหรืออาคารที่ไม่มีไฟฟ้าจากระบบของการไฟฟ้า เช่น บ้านในชนบท บ้านบนเกาะ บ้านในป่า เป็นต้น ระยะเวลาคืนทุนของระบบออฟกริดจะอยู่ที่ประมาณ 10-15 ปี

ระบบไฮบริด (Hybrid Grid)

เป็นโซล่าเซลล์ที่ผสมผสานระหว่างระบบออนกริดและระบบออฟกริดเข้าด้วยกัน หมายความว่าเมื่อแผงโซลาร์เซลล์ผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว จะเก็บกระแสไฟฟ้าส่วนเกินไว้ในแบตเตอรี่ เพื่อใช้ในช่วงเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์ หรือเมื่อใช้ไฟฟ้าเกินกว่าที่แผงโซลาร์เซลล์ผลิตได้ และหากกระแสไฟฟ้าส่วนเกินมีมากเกินกว่าที่จะเก็บไว้ในแบตเตอรี่ได้แล้ว จะส่งกลับไปยังระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า แต่ไม่สามารถขายได้ ด้วยความที่แบตเตอรี่ดีๆ มักจะราคาสูง ระบบนี้จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก

ขั้นตอนการติดตั้ง solar rooftop ทำอย่างไรบ้าง

solar rooftop คุ้มไหม

สำหรับขั้นตอนการติดตั้ง Solar Rooftop ยุ่งยากมากกว่าที่คิด เพราะต้องทำการขออนุญาต จ้างทีมมาติดตั้ง ต้องออกแบบ ดูท่อเดินสายไฟและอื่นๆ อีกมากมาย ดังนั้นจึงต้องพิจารณาให้ดีว่า solar rooftop คุ้มไหม กับการทำภายในครัวเรือนของตนเอง

ขั้นตอนที่ 1 ทำการสำรวจ

สำรวจพื้นที่หลังคาเพื่อตรวจสอบว่าหลังคามีสภาพพร้อมติดตั้ง Solar Rooftop หรือไม่ โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ทิศทาง สภาพและความลาดเอียงของหลังคา ดูจุดที่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ สำรวจจุดเดินสายไฟ ดูจุดเชื่อมต่อของระบบให้ดี

ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบระบบ Solar Rooftop

จะทำการออกแบบเองหรือจะจ้างให้นักออกแบบมาทำให้ก็ได้ เพียงแต่ว่าจะต้องดูจุดต่างๆ ให้ดี อย่าลืมตรวจปริมาณการใช้ไฟฟ้าของบ้าน และทำการ จัดสวนระเบียงคอนโด ให้ดี

ขั้นตอนที่ 3 ขออนุญาตติดตั้งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

หากมีการติดตั้ง Solar Rooftop ที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าตั้งแต่ 100 วัตต์ขึ้นไป จะต้องขออนุญาตติดตั้งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)

ขั้นตอนที่ 4 การติดตั้งระบบแผงโซล่าเซลล์

ติดตั้งโครงสร้างรองรับแผงโซล่าเซลล์ ติดตั้งแผง ติดตั้งอุปกรณ์อื่นๆ และระบบไฟฟ้า ควรที่จะจ้างบริษัทที่มีประสบการณ์มาทำการติดตั้งให้

ขั้นตอนที่ 5 ตรวจสอบหลังการติดตั้ง

ทดสอบระบบเพื่อตรวจสอบว่าระบบทำงานได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่ จากนั้นจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบก็เป็นอันเสร็จสิ้นการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์

โครงการโซล่าเซลล์ การไฟฟ้า เป็นอย่างไร

การไฟฟ้าได้จัดโครงการ Solar Rooftop เพื่อสนับสนุนการใช้แผงเหล่านี้ ในการลดค่าไฟลง ด้วยแผน pea solar rooftop เป็นบริการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ให้บริการแบบครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบ ติดตั้ง บำรุงรักษา สามารถชำระค่าบริการได้ทั้งแบบเงินสดและบริการสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินพันธมิตรของ PEA มีให้เลือกหลายแพ็กเกจขึ้นอยู่กับความต้องการและงบประมาณ ทั้งนี้ผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการโซล่าเซลล์ ภาคประชาชนได้จะต้องตรงตามเงื่อนไขของการไฟฟ้า ล่าสุดทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กำหนดระยะเวลาโครงการปี 2564 – 2573 ขยายเพิ่มเป็น 90 MW. ด้วยอัตรารับซื้อไฟเท่าเดิม คือ 2.2 บาท/หน่วย

โซล่าเซลล์ 5kw ใช้อะไรได้บ้าง มาดูกัน

วัตต์ที่นิยมที่สุดของ Solar Rooftop อยู่ที่ 5kw มีค่าเท่ากับ 5,000w สามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 2,000 – 2,500 หน่วยต่อปี หากคุณต้องการ ติดตั้งโซล่าเซลล์ 5kw ราคา อยู่ที่ประมาณ 110,000 – 130,000 นิยมใช้ในออฟฟิศขนาดเล็ก เช่น ร้านกาแฟ ร้านอาหารและร้านค้าปลีก เป็นต้น สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป สามารถใช้งานสำหรับเครื่องปรับอากาศ 12000 BTU 2 เครื่อง หลอดไฟ LED 20 หลอด ทีวี 50 นิ้ว 2 เครื่อง เหมาะสำหรับบ้านหรือธุรกิจที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าไม่มากนัก โดยสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ในระยะยาว

บทสรุปของ Solar Rooftop การผลิตไฟฟ้าจากธรรมชาติ เพื่อลดค่าไฟ

การใช้แผง Solar Rooftop เป็นการให้ธรรมชาติผลิตไฟฟ้าในครัวเรือน เพื่อลดค่าไฟ ลดภาวะโลกร้อน การใช้วิธีนี้กับอาคารที่มีการใช้ไฟในตอนกลางวันจะคุ้มค่ามากกว่า ในประเทศไทยได้มี โครงการโซล่าเซลล์การไฟฟ้า เป็นโครงการจากรัฐที่สนับสนุนให้ครัวเรือนหันมาใช้แผงโซล่าเซลล์ มีระบบการติดตั้งที่ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะต้องขออนุญาตจากหน่วยงานต่างๆ เรื่องนี้ไม่ได้ใหม่อะไรนักเพราะมีการนำมาใช้กันมานานแล้ว แต่บางคนอาจจะไม่รู้จักการนำแผงโซล่าเซลล์มาใช้เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและลดค่าใช้จ่ายภายในบ้าน หากใครอยากรู้เรื่องเกี่ยวกับบ้านหรือเรื่องเหล่านี้เพิ่มเติม ติดตามได้ที่ IWIF เพื่อศึกษาเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับบ้านมากขึ้น