รีโนเวทบ้าน แบบง่ายๆ
ทำอย่างไร ให้สวยแบบปังๆ

การ รีโนเวทบ้าน เป็นการปรับปรุงบ้านให้กลับมาใช้งานได้ดังเดิม พร้อมทั้งยกระดับให้บ้านใหม่ขึ้น โดยอาจทำได้ทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในและภายนอก หรืออาจทำเพียงบางส่วนก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของบ้าน การ ปรับปรุงบ้านเก่าให้น่าอยู่ นั้นสามารถทำได้ด้วยตนเองหากคุณมีความรู้มากเพียงพอ จะเห็นได้เยอะจากตัวอย่างคอนเทนต์การปรับปรุงบ้านใน Youtube หรือ Tiktok แต่นั่นอาจจะต้องใช้เวลาและพลังไปพอสมควร กว่าจะปรับบ้านให้ออกมาสวยงาม การรีโนเวทนั้นมีวิธีการง่ายๆ แต่ทำจริงอาจจะไม่ง่ายนัก ทางเราจะมาแนะนำว่าควรทำอย่างไร มีข้อดีหรือข้อเสียอะไรบ้างที่ควรรู้ก่อนการลงมือทำจริง

รีโนเวทบ้าน หมายถึงอะไร

คำว่า รีโนเวทบ้าน คือ การปรับปรุงหรือปรับแต่งบ้านเพื่อให้ดูดีขึ้น มีความสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้บ้านใหม่ทันสมัยขึ้น ส่วนของการปรับปรุงนั้นขึ้นกับงบประมาณของผู้อาศัยว่าจะสามารถรีโนเวทได้มากแค่ไหน ส่วนใหญ่แล้วจะทำการ รีโนเวทบ้านใหม่บนโครงสร้างเดิม เพราะว่าง่ายกว่าการรื้อโครงสร้างทั้งหมด แต่สิ่งที่น่าเจ็บใจสำหรับคนไทยก็คือ ผู้รับเหมาก่อสร้างในไทยเราค่อนข้างที่จะไม่ค่อยมีความรับผิดชอบนัก ยากมากที่จะได้ช่างดีๆ มารีโนเวทให้ บางคนจ้างช่างแต่โดนเทก็เป็นเรื่องที่พบเห็นได้บ่อย บางท่านจึงทำการปรับปรุงบ้านด้วยตนเอง ดังนั้นหากต้องการรีโนเวทเพียงแค่บางส่วนหรือเล็กๆ น้อยๆ การลงมือทำด้วยตนเองอาจจะคุ้มค่ากว่า แต่ถ้าต้องรื้อโครงสร้างหรือไม่มีเวลา การจ้างผู้รับเหมาก็ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น แต่ก็ต้องดูให้ดีเพราะผู้รับเหมาบางคนไม่ทำงานจริง ปล่อยทิ้งหรือไม่รับผิดชอบเมื่อได้รับเงินไปแล้ว เป็นสิ่งที่น่าปวดหัวสำหรับคนไทยอยู่ไม่น้อย หวังว่าในอนาคตจะมีการปรับระบบในส่วนนี้ให้ดีขึ้น เพื่อการว่าจ้างที่สบายใจทั้งลูกค้าและผู้รับเหมา

ต่อเติมบ้านชั้นเดียวเป็นชั้นครึ่ง

9 ขั้นตอนการ
ปรับปรุงบ้านเก่าให้น่าอยู่ ทำอย่างไรบ้าง

คำว่า รีโนเวทบ้าน คือ การปรับปรุงหรือปรับแต่งบ้านเพื่อให้ดูดีขึ้น มีความสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้บ้านใหม่ทันสมัยขึ้น ส่วนของการปรับปรุงนั้นขึ้นกับงบประมาณของผู้อาศัยว่าจะสามารถรีโนเวทได้มากแค่ไหน ส่วนใหญ่แล้วจะทำการ รีโนเวทบ้านใหม่บนโครงสร้างเดิม เพราะว่าง่ายกว่าการรื้อโครงสร้างทั้งหมด แต่สิ่งที่น่าเจ็บใจสำหรับคนไทยก็คือ ผู้รับเหมาก่อสร้างในไทยเราค่อนข้างที่จะไม่ค่อยมีความรับผิดชอบนัก ยากมากที่จะได้ช่างดีๆ มารีโนเวทให้ บางคนจ้างช่างแต่โดนเทก็เป็นเรื่องที่พบเห็นได้บ่อย บางท่านจึงทำการปรับปรุงบ้านด้วยตนเอง ดังนั้นหากต้องการรีโนเวทเพียงแค่บางส่วนหรือเล็กๆ น้อยๆ การลงมือทำด้วยตนเองอาจจะคุ้มค่ากว่า แต่ถ้าต้องรื้อโครงสร้างหรือไม่มีเวลา การจ้างผู้รับเหมาก็ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น แต่ก็ต้องดูให้ดีเพราะผู้รับเหมาบางคนไม่ทำงานจริง ปล่อยทิ้งหรือไม่รับผิดชอบเมื่อได้รับเงินไปแล้ว เป็นสิ่งที่น่าปวดหัวสำหรับคนไทยอยู่ไม่น้อย หวังว่าในอนาคตจะมีการปรับระบบในส่วนนี้ให้ดีขึ้น เพื่อการว่าจ้างที่สบายใจทั้งลูกค้าและผู้รับเหมา

ปรับปรุงบ้านเก่าให้น่าอย

ขั้นตอนที่ 1
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรีโนเวทบ้าน

ก่อนเริ่ม รีโนเวทบ้าน เจ้าของบ้านควรศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการต่อเติมและรีโนเวทอาคารให้ดีเสียก่อน โดยสามารถสอบถามข้อมูลได้จากสำนักงานเขตหรือเทศบาลที่เราอยู่ กฎหมายเหล่านี้จะกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับประเภทของงานก่อสร้างที่สามารถทำได้ ระยะเวลาในการขออนุญาตก่อสร้าง และค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระ สิ่งสำคัญเลยก็คือข้อห้ามที่ไม่สามารถทำได้ ต้องดูให้ดีๆ เพราะอาจจะมีปัญหาในภายหลัง

ขั้นตอนที่ 2
ตรวจสอบสภาพก่อนการรีโนเวทบ้าน

ทำการตรวจสอบสภาพบ้านก่อนที่จะทำการปรับปรุง ว่ามีตรงไหนต้องรีโนเวท ตรงส่วนไหนไม่สามารถทำได้ เพราะบางทีอาจจะไปทำการต่อเติมส่วนโครงสร้างแล้วทำให้บ้านเสียสมดุลได้ ดังนั้นจึงต้องตรวจสอบว่า เดิมมีการต่อเติมตรงไหน รอยร้าวต่างๆ มีสาเหตุมาจากอะไร ระดับอาคารกับถนนสัมพันธ์กันหรือไม่ ตรงไหนที่ชำรุด โครงสร้างของบ้านสภาพเป็นอย่างไร ถือเป็นส่วนที่สำคัญก่อนที่จะทำการ รีโนเวทบ้าน นอกจากนั้นอย่าลืมตรวจสอบพวกระบบไฟฟ้า ระบบประปาของบ้านด้วย

เก้าอี้ไม้โยก

ขั้นตอนที่ 3
กำหนดจุดประสงค์ในการรีโนเวทบ้าน

การกำหนดจุดประสงค์ที่ต้องการทำให้มองเห็นภาพกว้างๆ ว่าจะต้องวางแผนยังไง ตรงส่วนไหนต้องให้ความสำคัญ หากต้องการแค่ฟื้นฟูสภาพบ้านหรือรีโนเวทบ้านใหม่บนโครงสร้างเดิม ก็อาจจะไม่ต้องมีการตกแต่งความสวยงามใดๆ แต่ถ้าหากต้องการปรับโครงสร้าง พร้อมฟื้นฟูและเสริมความสวยงามให้บ้านน่าอยู่ ก็อาจจะต้องกำหนดงบประมาณเพิ่มเติม

ขั้นตอนที่ 4
ประเมินงบประมาณ

การ รีโนเวทบ้าน นั้นต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูง เจ้าของบ้านจึงควรประเมินงบประมาณให้ชัดเจนตั้งแต่เนิ่นๆ โดยอาจขอคำแนะนำจากสถาปนิกหรือนักออกแบบตกแต่งภายใน เพื่อกำหนดงบประมาณเบื้องต้น จากนั้นจึงทำการสำรวจบ้านของตนเองว่ามีปัญหาอะไรที่ต้องแก้ไขบ้าง และต้องการอะไรจากการรีโนเวท เพื่อที่จะได้กำหนดงบประมาณที่แน่นอนได้ ทั้งนี้ควรเผื่องบเอาไว้ฉุกเฉินประมาณ 10-30% อาจจะแบ่งคร่าวๆ 3 ส่วน ได้แก่ ค่าออกแบบ ค่าก่อสร้างและซ่อมแซม ค่าที่ปรึกษาหรือค่าเช่าบ้าน เป็นต้น

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรีโนเวทบ้าน
รีโนเวทบ้าน ต้องขออนุญาตไหม pantip

ขั้นตอนที่ 5
วาดไอเดียการออกแบบรีโนเวทบ้าน

หา Reference เป็นไอเดียในการออกแบบจะช่วยให้เจ้าของบ้านมีแนวทางในการรีโนเวทมากขึ้น โดยสามารถหาได้จากอินเทอร์เน็ต นิตยสาร หรือหนังสือเกี่ยวกับการออกแบบตกแต่งภายใน

ขั้นตอนที่ 6
ว่าจ้างผู้รับเหมา

ส่วนนี้สำคัญมาก ผู้รับเหมาที่มีความเชี่ยวชาญจะช่วยให้งาน รีโนเวทบ้าน เป็นไปอย่างราบรื่นและมีคุณภาพ เจ้าของบ้านจึงควรเลือกผู้รับเหมาที่มีฝีมือและประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงมีใบอนุญาตก่อสร้างที่ถูกต้องตามกฎหมาย ควรเช็กประวัติและดูราคา ที่สำคัญต้องมีสัญญาว่าจ้าง เพื่อเป็นจดหมายยืนยันการว่าจ้างนี้ การจ้างผู้รับเหมามีด้วยกัน 2 แบบ ดังนี้

Design-Bid-Built

Design-Bid-Built

เป็นกระบวนการก่อสร้างที่เริ่มจากการจ้างสถาปนิกหรือนักออกแบบเพื่อสร้างแบบแปลน จากนั้นจึงจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อก่อสร้างตามแบบที่กำหนด ผู้รับเหมาจะดำเนินการก่อสร้างตามแปลนนั้นๆ โดยมีเจ้าของบ้านตรวจสอบความคืบหน้าของงานและคุณภาพของวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างอย่างใกล้ชิด เป็นกระบวนการก่อสร้างที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีความยืดหยุ่นและเจ้าของบ้านสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ แต่อาจจะใช้เวลานานพอสมควร

Design & Build

Design & Build

เป็นกระบวนการก่อสร้างที่รวมขั้นตอนการออกแบบและการก่อสร้างเข้าด้วยกัน โดยบริษัทรับเหมาจะเป็นผู้ออกแบบและก่อสร้างให้กับเจ้าของบ้าน เป็นกระบวนการที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากประหยัดเวลา เพราะเจ้าของบ้านไม่ต้องดำเนินการออกแบบ แต่อาจจะมีค่าใช้จ่ายสูง

รีโนเวทบ้าน ไม้ 2 ชั้น

ขั้นตอนที่ 7
เตรียมที่อยู่อาศัยชั่วคราว

ในระหว่างที่ทำการ รีโนเวทบ้าน อาจทำให้บ้านไม่สะดวกในการอยู่อาศัย เช่น มีฝุ่นหรือเสียงดัง เจ้าของบ้านจึงควรเตรียมที่อยู่อาศัยสำรองไว้ในช่วงที่ทำการปรับปรุง ซึ่งอาจเช่าที่พักอาศัยชั่วคราวหรืออาศัยอยู่กับญาติหรือเพื่อน

ขั้นตอนที่ 8
เลือกวัสดุที่ดีในการรีโนเวทบ้าน

เนื่องจากเราต้องทำการติดตามและเลือกวัสดุในการต่อเติม สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงเลยก็คือ ความทนทาน เป็นเรื่องสำคัญมากในการ รีโนเวทบ้านใหม่บนโครงสร้างเดิม เพราะถ้าวัสดุนั้นสวยงามแต่เปราะบางก็ไม่ควรที่จะนำมาใช้งาน รองลงมาคือความยากง่ายในการดูแลรักษา

ขั้นตอนที่ 9
ควบคุมกระบวนการรีโนเวทบ้าน

พอทำการว่าจ้างแล้วควรที่จะดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ควรปล่อยให้ผู้รับเหมาทำอย่างสบายใจ เพราะอาจจะเกิดความล่าช้าได้ ที่สำคัญดูเรื่องสัญญาจ้างให้ดี ติดตามการทำงานทุกฝีก้าว เพื่อป้องกันการขโมยของและเพื่อดูความคืบหน้าในการต่อเติมบ้าน

รีโนเวทบ้าน2ชั้น ราคาประหยัด

8 ไอเดียง่ายๆ
ในการ รีโนเวทบ้าน แบบเก๋ๆ ให้ดูทันสมัยและน่าอยู่

มาดูว่าไอเดียดีๆ ในการ รีโนเวทบ้าน จะมีอะไรบ้าง เพื่อให้บ้านน่าอยู่มากขึ้น หรือเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้มีประโยชน์ ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ชำรุดออก เป็นการ ปรับปรุงบ้านเก่าให้น่าอยู่ แบบง่ายๆ เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น

ต่อเติมเพิ่มห้อง

จัดแสงไฟ

การ รีโนเวทบ้าน ที่ง่ายที่สุดคือการเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟที่เหมาะสมกับบ้าน ด้วยการดูโทนสีความอุ่นและความเย็น เพิ่มแสงในมุมอับหรือตกแต่งด้วยโคมไฟเพิ่มเติม เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศและรีโนเวทบ้านใหม่บนโครงสร้างเดิมที่ดี

เปลี่ยนพื้น
บ้านใหม่

หนึ่งในการ รีโนเวทบ้านใหม่บนโครงสร้างเดิม คือพื้นบ้าน เป็นส่วนที่สำคัญในการเป็นหน้าเป็นตาให้เจ้าของบ้าน หากพื้นบ้านเป็นไม้ผุพัง ก็อาจทำให้เกิดอันตรายได้ง่าย ส่วนมากบ้านสมัยใหม่มักจะเป็นพื้นปูนหรือพื้นกระเบื้อง เพราะง่ายต่อการทำความสะอาดมากกว่าพื้นไม้

ต่อเติม
เพิ่มห้อง

เป็นส่วนของการเพิ่มพื้นที่ใช้สอย ด้วยการต่อเติมกำแพงแล้วแบ่งออกเป็น 2 ห้อง แต่วิธีการนี้จะต้องดูโครงสร้างบ้านให้ดี ว่ามีผลกระทบอะไรไหม

ทุบกำแพง

เพิ่มพื้นที่

เป็นวิธีที่นิยมอย่างมากในการ รีโนเวทบ้าน ด้วยการเชื่อมทั้งสองห้องเข้าด้วยกัน เป็นการขยายพื้นที่ใช้สอยให้ดูโปร่งและสบายมากขึ้น แต่ก่อนที่จะทำการทุบกำแพงนั้นจะต้องดูถึงผลกระทบต่อส่วนอื่นๆ ในบ้านด้วย

โครงการรีโนเวทบ้านฟรี
เปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์หรือสิ่งของ

ทาสี
บ้านใหม่

การทาสีบ้านใหม่หรือเปลี่ยนผนังเป็นการ รีโนเวทบ้าน แบบง่ายๆ ช่วยเพิ่มความสดใสให้กับบ้าน เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศตามโทนสีที่ต้องการ ถือว่าเป็นส่วนที่ง่ายและทำได้ด้วยตนเอง

ปรับตำแหน่ง ปรับผังใหม่

การจัดห้องใหม่ ด้วยการเปลี่ยนตำแหน่งเฟอร์นิเจอร์ เปลี่ยนตำแหน่งวางเตียง ปรับวางให้สิ่งของขนาดใหญ่อยู่ชิดกำแพง ทำให้มีพื้นที่ตรงกลางมากขึ้น ทำให้บ้านดูโล่งและสะอาดตา เป็นการ รีโนเวทบ้านใหม่บนโครงสร้างเดิม ที่ง่ายและสะดวก

เปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์หรือสิ่งของ

การ รีโนเวทบ้าน ด้วยการเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์หรือสิ่งของที่ดี ควรที่จะเปลี่ยนเป็นเซต เพื่อให้ง่ายต่อการตกแต่ง และไปในโทนเดียวกัน เช่น ซื้อเฟอร์นิเจอร์ห้องรับแขกที่มีเก้าอี้นวมแบบยกเซต เพื่อให้โทนสีไปในทางเดียวกันได้

ปรับแต่ง
หน้าบ้าน

การปรับแต่งหน้าบ้านมีทั้งการทาสีรั้วใหม่ การจัดสวนให้ดูดีขึ้น การต่อเติมบางส่วนหน้าบ้าน เปลี่ยนประตูทางเข้าหรือการติดกันแสง เป็นการเพิ่มมูลค่าจากการ รีโนเวทบ้าน ให้กับผู้คนที่เดินผ่านมา

ต่อเติมหลังคาข้างบ้าน กฎหมาย

รีโนเวทบ้านใหม่
บนโครงสร้างเดิม มีข้อดีหรือข้อเสียอะไร ที่ต้องรู้

ก่อนที่จะทำการ รีโนเวทบ้าน ต้องรู้ว่าการปรับปรุงนี้จะก่อให้เกิดข้อดีหรือข้อเสียอะไรบ้าง เพื่อประเมินถึงความคุ้มค่าในการ  รีโนเวทบ้านใหม่บนโครงสร้างเดิม ซึ่งการปรับปรุงบ้านมีข้อดีและข้อเสีย ดังนี้

ข้อดีของการรีโนเวทบ้าน

ทำให้บ้านน่าอยู่

การ รีโนเวทบ้าน สามารถช่วยให้บ้านดูใหม่และทันสมัยขึ้น โดยการเปลี่ยนวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ ให้เข้ากับความต้องการและไลฟ์สไตล์ของเจ้าของบ้าน เช่น การเปลี่ยนพื้น ผนัง ฝ้าเพดาน เฟอร์นิเจอร์หรือเปลี่ยนรูปแบบการตกแต่งภายใน

อายุการใช้งานนานขึ้น

แก้ปัญหาภายในบ้าน เช่น ปัญหาโครงสร้างที่ทรุดโทรม ปัญหาการระบายอากาศไม่ดี ปัญหาความชื้นหรือปลวก เป็นต้น เมื่อทำการปรับปรุงแล้วใช้วัสดุที่ทนทาน ก็จะยืดอายุการใช้งานออกไปได้

ความปลอดภัย

บ้านที่ชำรุดหรือทรุดโทรมเสี่ยงที่จะมีอันตรายเกิดขึ้นภายในบ้าน รวมทั้งระบบไฟฟ้าหรือประปา หากไฟฟ้ารั่วไหลอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ แถมบ้านที่เก่าจนเกินไปอาจทำให้สุขอนามัยหรือสุขภาพร่างกายถดถอยลงด้วย

พื้นที่ใช้สอยมากขึ้น

เมื่อปรับระบบแล้ว ทำให้พื้นที่ใช้สอยมีมากขึ้น จัดวางสิ่งของได้ดีขึ้น มีพื้นที่เพียงพอต่อการอยู่อาศัย ถือเป็นข้อสำคัญที่คนส่วนใหญ่ทำการ รีโนเวทบ้าน เพื่อให้มีพื้นที่มากขึ้น

คุณค่าทางจิตใจ

ช่วยตอบสนองความต้องการของเจ้าของบ้าน เมื่อสถานที่อยู่ดีขึ้น ก็ส่งผลให้จิตใจและสุขภาพร่างกายดี อีกทั้งยังทำให้รู้สึกดี เมื่อได้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม อาจทำให้ชีวิตคุณดีขึ้นได้

ข้อเสียของการรีโนเวทบ้าน

ค่าใช้จ่ายสูง

ต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องรวมค่าใช้จ่ายในการจ้างสถาปนิกหรือนักออกแบบ ค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้รับเหมาก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายในการซื้อวัสดุและอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการตกแต่งภายใน ถ้าหากจัดการงบไม่ดีอาจทำให้การเงินของครอบครัวมีปัญหาได้ แถมยังต้องเผื่องบสำหรับการดำเนินงานกับกฎหมาย เรื่องของค่าที่พักชั่วคราว เรียกได้ว่ามีรายจ่ายจุกจิกมากมาย ดังนั้นผู้ที่จะ รีโนเวทบ้าน ได้จะต้องมีระบบการเงินที่เพียงพอ

เสียเวลา

อาจใช้เวลานานเนื่องจากต้องดำเนินการออกแบบ ประมูลงานและก่อสร้าง ซึ่งอาจใช้เวลาหลายเดือนหรือหลายปี ขึ้นอยู่กับขนาดและลักษณะของงาน

ความยุ่งยาก

การ รีโนเวทบ้าน เกิดความยุ่งยากเนื่องจากต้องย้ายข้าวของออกจากบ้าน และอาจจะต้องอยู่อาศัยในที่อื่นชั่วคราวระหว่างการก่อสร้าง อีกทั้งยังต้องติดตามการทำงานของผู้รับเหมา และต้องดูรายละเอียดภาพรวมทุกอย่างจนกว่าจะเสร็จ

ปัญหารอบด้าน

การ รีโนเวทบ้าน อาจเกิดปัญหาคุณภาพของวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้าง ปัญหาการจราจรหรือเสียงรบกวนต่อเพื่อนบ้าน ปัญหากับผู้รับเหมา รวมทั้งปัญหาด้านการเงิน

บทสรุปของการ รีโนเวทบ้าน
เพื่อปรับปรุงบ้านเก่าให้น่าอยู่ ดูมีระดับ

การ รีโนเวทบ้าน เป็นกระบวนปรับปรุงให้บ้านดูใหม่ขึ้น มีอายุการใช้งานนานขึ้น ที่สำคัญเป็นการปรับเปลี่ยนสิ่งเดิมๆ หรือโครงสร้างที่ชำรุดออก ส่วนมากจะนิยม รีโนเวทบ้านใหม่บนโครงสร้างเดิม เพื่อประหยัดงบประมาณ แต่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ก็อาจจะดีกว่าสำหรับบ้านที่ผุพังจนใช้งานไม่ได้ การปรับปรุงบ้านมีทั้งข้อดีและข้อเสีย อยู่ที่การพิจารณาของเจ้าของบ้านว่าจำเป็นต้องปรับปรุงหรือไม่ แต่ใครที่ได้รีโนเวทยกเซตบ้านทั้งหลังคงจะรู้สึกเหมือน i woke up in the future แล้วพบว่าได้บ้านใหม่ในฝัน แต่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถทำได้ เพราะต้องมีงบประมาณที่เพียงพอ และสภาพแวดล้อมต้องพร้อมที่จะรีโนเวทได้ รวมถึงความสมัครใจของคนในครอบครัวด้วย การ รีโนเวทบ้าน ไม่ใช่เรื่องง่ายที่อยากทำก็ทำได้ ต้องมีการวางแผนและออกแบบให้ดีที่สุดก่อนการลงมือปรับเปลี่ยนจริง